ถึงจะเป็นโควิด-19 และหายแล้ว แต่ถ้าคุณยังมีอาการที่เคยเกิดขึ้นระหว่างการเป็นโควิด-19 หลงเหลืออยู่ อย่างอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม นั่นหมายความว่าคุณอาจกำลังเผชิญกับภาวะ Long COVID หรืออาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 อยู่ ลองมาสังเกตตัวเองและทำความรู้จัก Long COVID ไปพร้อม ๆ กันดีกว่า
ภาวะ Long COVID คืออะไร?
ภาวะ Long COVID หรือ Post COVID 19 เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อตั้งแต่ 4 – 12 สัปดาห์ขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด ปอดอักเสบรุนแรง และมีโรคเรื้อรัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การเป็น Long COVID จะส่งผลกระทบให้ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนเดิม ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เต็มที่ เพราะปอดไม่แข็งแรง นอกจากนี้อาการ Long COVID ยังมีอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่มีอาการที่ตายตัว ที่สำคัญเลยคือสามารถเกิดได้กับทุกระบบในร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจ และหลอดเลือด
ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่จะมีภาวะ Long COVID?
- ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีภาวะอ้วน
- เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย
อาการ Long Covid ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?
- เหนื่อยง่ายขึ้น
- หายใจไม่อิ่ม
- แน่นหน้าอก
- อ่อนเพลีย
- ปวดเมื่อยตามตัวและปวดตามข้อ
- กล้ามเนื้อไม่มีแรง
- มีอาการไอเรื้อรัง
- การรับรสและกลิ่นผิดปกติ
- มีไข้ ปวดศีรษะ
- มึนศีรษะ
- ความจำไม่ดี
- ไม่มีสมาธิ
- ส่งผลกับจิตใจ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด ใจสั่น นอนไม่หลับ
- ท้องเสีย ท้องอืด
ภาวะ Long COVID มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
- ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการใหม่ หรืออาการเดิมไม่หายไป
ผู้ป่วยจะมีอาการยาวนานต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหลังจากติดเชื้อโควิด-19 เช่น หายใจไม่อิ่ม ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ภาวะที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติในหลายอวัยวะ
ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการหลั่งสารในระบบภูมิคุ้มกันกลุ่ม cytokine ได้ เนื้อเยื่ออวัยวะหลายส่วนจึงถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง เช่น เนื้อเยื่อหัวใจ ปอด ไต สมอง และผิวหนัง
- ผลกระทบระยะยาวจากการนอนโรงพยาบาลและจากการติดเชื้อโควิด-19
ผู้ป่วยได้รับผลกระทบด้านจิตใจกับผู้ป่วย ส่งผลต่อเรื่องการคิดและคำพูด หรือมีอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรง post-traumatic stress disorder หรือ PTSD
ดูแลตัวเองและป้องกันภาวะ Long COVID ได้อย่างไร?
- ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 และเมื่อครบระยะเวลาที่จะต้องรับเข็มกระตุ้น ให้ไปรับวัคซีนเพิ่มเติมทันที
- ใส่หน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
- หลีกเลี่ยงบริเวณที่แออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ เพราะการหมั่นสังเกตความผิดปกติหลังหายจากโควิด-19 เป็นเรื่องสำคัญ เพราะแพทย์จะรักษาตามอาการเป็นหลัก เพราะฉะนั้นถ้ามีอาการควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
- หากเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงสูงหรือไปในพื้นที่เสี่ยง ควรตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK หรือเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR โดยทันที
สำหรับใครที่ต้องการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง ด้วยชุดตรวจ ATK หรือต้องการตรวจแบบ RT-PCR ทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย หรือต้องการเช่ารถเพื่อไปตรวจ RT-PCR รับวัคซีน หรือ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด KKday มีทุกอย่างรวมไว้ให้แล้ว แถมมาพร้อมกับโปรโมชั่นราคาดี และส่วนลดมากมาย สามารถจองและอ่านรายละเอียด แพ็กเกจตรวจโควิด-19 ได้ ที่นี่
อ้างอิง: