M+ Museum Hong Kong พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส ฮ่องกง
พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส (M+ Museum) ที่ฮ่องกง ได้รับการออกแบบโดย Herzog & de Meuron ซึ่งตั้งอยู่ใน เขตวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก (West Kowloon Cultural District: WKCD) มีแกลเลอรีจัดแสดงงานศิลปะถึง 33 ห้อง บนพื้นที่ราว 17,000 ตร.ม. พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัสฮ่องกงนี้เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2021 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการมุ่งเน้นไปที่ศิลปะร่วมสมัย และสมัยใหม่ ที่เป็นการออกแบบจากเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ
ไม่ใช่เพียงแค่พิพิธภัณฑ์ฮ่องกงเท่านั้นที่โดดเด่นน่าชม เพราะถ้าหากเขยิบกันมาอีกนิดที่อ่าววิคตอเรีย (Victoria Harbour) จะพบอีกหนึ่งในสถานที่สำคัญที่โดดเด่นสะดุดตาที่สุดของฮ่องกง ใครเที่ยวฮ่องกงจำเป็นต้องตำ โดยอ่าววิคตอเรียนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้มีความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องของวัฒนธรรมผ่านศิลปะและการออกแบบอีกด้วย
เล่าเฟื่องเรื่องจริงอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจที่คุณอาจไม่รู้ พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส (M+ Museum) แห่งนี้ได้ชื่อว่า M+ ก็เพราะมาจากวลีที่ว่า “พิพิธภัณฑ์และอื่นๆ อีกมากมาย” ตามคำกล่าวของ Lars Nittve ผู้อำนวยการคนแรกของพิพิธภัณฑ์เอ็มพลัสแห่งนี้นั่นเอง
จองตั๋วสำหรับพิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส (M+ Museum) ฮ่องกง
จองบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม M+ ที่ฮ่องกง กับ KKday ได้แล้ววันนี้!
Special Exhibitions นิทรรศการพิเศษ ต้องชมเมื่อเที่ยวฮ่องกง
Yayoi Kusuma: 1945 to Now (จัดแสดงจนถึงเดือนพฤษภาคมนี้)
นี่เป็นการแสดงผลงานของ ยาโยย คุซามะ (Yayoi Kusama) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ที่โชว์นอกประเทศญี่ปุ่นของพิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส (M+ Museum) ฮ่องกง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 1 ปี ของพิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส ฮ่องกง ผลงานกว่า 200 ชิ้นของเธอ นับรวมมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบันนั้น ได้จัดแสดงจนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 นี้ ซึ่งนิทรรศการพิเศษนี้จัดแบ่งเป็น 6 ธีมหลัก ได้แก่ Infinity, Accumulation, Radical Connectivity, Biocosmic, Death, และ Force of Life ซึ่งเป็นการสะท้อนการดำรงอยู่อย่างสร้างสรรค์ของคุซามะนั่นเอง
ในห้องโถงใหญ่ ของ พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส ฮ่องกง มีประติมากรรมขนาดใหญ่สองชิ้นชื่อ Pumpkin (2022) เปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมอีกด้วย
ที่พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส (M+ Museum) ฮ่องกง เป็นพิพิธภัณฑ์ฮ่องกงเพียงที่เดียวที่ได้จัดแสดงผลงาน Death of Nerves (2022) ซึ่งเป็นงานติดตั้งขนาดใหญ่ ที่มีสีสันสดใส ซึ่งเป็นส่วนเสริมของผลงาน Infinity Nets ของ ยาโยย คุซามะ ยิ่งไปกว่านั้น เส้นสายต่างๆ ที่ทอดยาวเหมือนใยแมงมุม จะนำสายตาไปสู่ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส ฮ่องกง จนทำให้เกิดภาพที่น่าดึงดูดใจ สะกดอารมณ์ผู้ชมได้เป็นอย่างดี
Dots Obsession—Aspiring to Heaven’s Love (2022) เป็นผลงานที่แสดงถึงสภาพแวดล้อม ที่ต่างเต็มไปด้วยความทะเยอทะยาน และดื่มด่ำจนน่าดึงดูด ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้รับการนำเสนอผ่านลายจุดอันเป็นเอกลักษณ์ของ ยาโยย คุซามะ นอกจากนี้ การติดตั้งของผลงานชิ้นนี้ใช้การแขวนลูกโป่งเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งจะสร้างประสบการณ์แบบละลานตา ให้ผู้ชมได้รับรู้และรู้สึกถึงผลงานจริงๆ
การจัดแสดงบนชั้นนี้ ประกอบด้วย สแตนเลสหยดใหญ่ๆ ที่ทำด้วยกระจก ประติมากรรมคุมโทนขาวดำเหล่านี้มีลักษณะที่แตกต่างจากผลงานของ ยาโยย คุซามะ ซึ่งมักมีผลงานที่ดูเปล่งปลั่งและมีชีวิตชีวา เพื่อสะท้อนและเติมเต็มภาพวาดของเธอ และสแตนเลสรูปทรงหยุดน้ำเหล่านี้ ก็สร้างบรรยากาศที่ชวนดื่มด่ำได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เข้าชมจะสามารถจินตนาการไปได้ไกลเกินกว่าผนังของแกลเลอรีที่กั้นไว้ และดื่มด่ำกับประสบการณ์เต็มรูปแบบของนิทรรศการนี้
Beeple: HUMAN ONE (จัดแสดงจนถึงเดือนเมษายนนี้)
HUMAN ONE เป็นผลงานที่สร้างสรรค์โดยศิลปิน Beeple เป็นประติมากรรมในรูปแบบวิดิโอ ที่แสดงถึงการเคลื่อนไหวที่แสดงภาพมนุษย์คนแรกที่เกิดในเมตาเวิร์ส โดย Beeple เป็นศิลปินดิจิทัลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ผู้มีเหรียญ NFT (Non-Fungible Token) ขายที่ คริสตีส์ (Christie’s) บริษัทรับจัดประมูลผลงานศิลปะชั้นนำ ในราคาสูงถึง 69.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าราว 2,400 ล้านบาทไทย)
รูปปั้นวิดีโอที่เคลื่อนไหวได้นี้แสดงให้เห็นเป็นภาพของนักบินอวกาศเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างคล้ายกล่องหมุนพร้อมจอ LED 4 จอ รูปปั้นนี้คล้ายกับมีชีวิตเชื่อมต่ออยู่อย่างน่าฉงน ผลงานเช่นนี้เป็นการอุปมาอุปไมยของเส้นแบ่งที่ไม่ค่อยชัดเจนนัก ของการดำรงอยู่ทางกายภาพและดิจิทัลของมนุษย์ ซึ่งภูมิทัศน์เสมือนจริงนี้ จะได้รับการอัปเดตเป็นครั้งคราวโดยระบบของ Beeple เองอีกด้วย
Hong Kong: Here and Beyond (จัดแสดงจนถึงเดือนมิถุนายนนี้)
แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ ที่ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจกับเมืองที่กำลังเดินทางไปเที่ยวเป็นอย่างดี อย่าง ฮ่องกง: Here and Beyond นี้ก็เป็นผลงานที่ครอบคลุมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองฮ่องกง ตั้งแต่หลังสงครามจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ่านการร่วมมือกันของบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานนี้ขึ้นมาอย่างสุดความสามารถ ฮ่องกงจึงเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับศิลปิน สถาปนิก นักออกแบบ และคนทำภาพยนตร์
ผลงานชิ้นนี้แบ่งออกเป็น 4 บท: Here, Identities, Places และ Beyond ซึ่งในแต่ละบทจะเน้นให้เห็นถึงวัฒนธรรมของมุมมองของฮ่องกง ผ่านถูกมองจากมุมมองหลากหลายและตัดกันไปมา บางคนจึงบอกว่า ภาพที่มองเห็นนั้นเป็นภาพสะท้อนของเมืองที่ไม่เคยหยุดนิ่งนั่นเอง
นิทรรศการที่กำลังจัดแสดง
Individuals, Networks, Expression
นิทรรศการ Individuals, Networks, Expressions เป็นการนำเสนอสายสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ระหว่างศิลปินและงานศิลปะต่างๆ ที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้ เป็นการแสดงถึงความร่วมมือกันช่วยสร้างเรื่องราวที่เชื่อมโยงในมิติของประสบการณ์ส่วนบุคคลและประสบการณ์ส่วนรวมเข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นไปที่ความเป็นเอเชีย ที่เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมผืนใหญ่ที่มีอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และมุมมองที่หลากหลายและแตกต่างออกไป
นิทรรศการนี้ จัดแสดงให้เห็นความสามารถของหลากกลุ่มศิลปิน ที่มีความหลากหลายด้านเทคนิค วัสดุ รูปแบบ และวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เพื่อสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมหรือสังคมของศิลฟิน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์โลก ซึ่งศิลปินและงานศิลปะของพวกเขาเหล่านี้ มาจัดแสดงร่วมกันก็เพราะเพื่อได้ร่วมสร้างทัศนศิลป์ ที่กระตุ้นความคิดให้ผู้ชมอย่างสร้างสรรค์นั่นเอง
Things, Spaces, Interactions
Things, Spaces, Interactions เป็นนิทรรศที่มีการจัดแสดงอย่างต่อเนื่อง มีงานแสดงมากกว่า 500 รายการ ซึ่งการติดตั้งผลงานนี้ ต่างประกอบไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ สถาปัตยกรรม ศิลปะกราฟิก และวัตถุสำหรับงานออกแบบอื่นๆ ที่มีเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญในการสร้างโลกในช่วง 7 ทศวรรษให้หลังที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นิทรรศการนี้ยังมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการออกแบบและงานสถาปัตยกรรม เพราะล้วนมีผลต่อวิธีที่มนุษย์เราใช้สิ่งของต่างๆ และพื้นที่อยู่อาศัย และเพื่อช่วยสร้างโลกทัศน์ให้กว้างขวางขึ้น อีกนัยหนึ่ง ตัวนิทรรศการเองก็เปิดโอกาสให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับสังคมสมัยใหม่ของมนุษย์เช่นกัน
M+ Cinema เอ็มพลัสซีนีม่า
เอ็มพลัสซีนีม่า (M+ Cinema) มีห้องโถงทั้งหมด 3 ห้อง มีที่นั่งทั้งหมด 280 ที่นั่ง โดยจะมีการฉายภาพยนตร์สารคดี โรงภาพยนตร์ฉบับทดลอง วิดีโออาร์ตๆ ภาพยนตร์คลาสสิกที่ได้รับการฟื้นฟู และภาพยนตร์หายาก
โดยเอ็มพลัสซีนีม่า (M+ Cinema) แห่งนี้ไม่เหมือนที่อื่น เพราะรอบการฉายภาพยนตร์ที่นี่ จะสอดคล้องไปกับธีมของนิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ มากกว่านั้น สำหรับผู้ที่หลงใหลในเทคโนโลยี โรงภาพยนตร์เอ็มพลัสซีนีม่าเอง ก็มีการติดตั้งระบบฉายภาพดิจิตอล และอนาล็อกขนาด 16 มม. และ 35 มม. และระบบเสียง Dolby 7.1 ควบคู่กับที่นั่งสุดอลังการจากผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ชาวอิตาลี Poltrona Frau ที่ได้รับการออกแบบโดยบริษัทออกแบบสัญชาติเดนมาร์กที่ชื่อว่า Kvadrat
รายละเอียดเกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส (M+ Museum)
ที่ตั้ง: เอ็มพลัส เขตวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก (West Kowloon Cultural District: WKCD) เขตเกาลูน
เวลาทำการ:
- วันอังคาร – วันพฤหัสบดี และวันหยุดสุดสัปดาห์ เวลา 10.00 น. ถึง 18.00 น.
- วันศุกร์ เวลา 10.00 น. ถึง 22.00 น. เวลาเข้าชมรอบสุดท้าย คือ 30 นาทีก่อนปิดทำการ พิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส (M+ Museum) ปิดทำการในวันจันทร์ และเปิดในวันหยุดนักขัตฤกษ์ทั้งหมด เว้นแต่จะตรงกับวันจันทร์
สิ่งที่พลาดไม่ได้เมื่อไปเที่ยวฮ่องกง
วางแผนทริปฮ่องกงกับ KKday !